all3_new

ประวัติชมรมตะโกรายสัมพันธ์

ชมรมตะโกรายสัมพันธ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 โดยกลุ่มเพื่อนสนิทศิษย์เก่าเทคโนโคราช ( เข้าเรียนระดับ ปวส. เมื่อปี พ.ศ.2534 ) แผนกอิเล็กทรอนิกส์ รุ่น EE23 และ แผนกคอมพิวเตอร์ รุ่น EC4
หลังจากกลับจากการเดินทางไปร่วมงานอุปสมบท เพื่อนสนิท คุณเศรษฐศักดิ์ ทองชมภู ที่บ้านพุเตย ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์ ขากลับ จึงได้แวะสังสรรค์กันที่ บ้านภรรยาของ คุณวิริยะ ปรัชญาเกรียงไกร (เอ สุพรรณ) ที่ จ.สระบุรี โดยได้นั่งสังสรรค์กันใต้ต้นมะกรูด จากนั้นในวงสนทนาจึงได้เกิดความคิดขึ้นว่า “พวกเรามาร่วมมือกันทำอะไรที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ด้วยการจัดกิจกรรม 1 ปี 1 ครั้ง เพื่อให้ พี่ เพื่อน น้อง ได้ พบปะสังสรรค์กันแบบ ไม่ต้องหลบซ่อนให้ภรรยาต้องเป็นกังวลแล้วโทรตาม และ ถือโอกาสในการสร้างกุศลให้กับเด็กนักเรียนและโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญกันดีมั้ย?” จึงได้ระดมความคิดในการตั้งชมรมขึ้นมา และ คิดกันว่า ชื่อชมรม จะใช้ชื่ออะไรดี เดิมทีจะใช้ชื่อ “ชมรมตะโกรายและผองเพื่อน” จากนั้นก็ได้ช่วยกันคิดจนตกผลึกว่า ชื่อ “ชมรมตะโกรายสัมพันธ์’ เพื่อให้สื่อความหมายที่เข้าใจง่าย และ มีความหมายลึกซึ้ง ชื่อ “ตะโกราย’ เพื่อให้ทุกคนทราบโดยทั่วกันว่า เราคือศิษย์เก่าที่จบมาจากเทคโนโคราช และเติมคำว่า “สัมพันธ์ เข้าไป เพื่อสื่อสารว่า ชมรมจะสานสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนโดยไม่จำเป็นต้องเป็นศิษย์เก่าเทคโนโคราชก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมได้ เพียงขอให้มีจิตเมตตาต่อเด็กๆ ในพื้นที่ ๆ ชมรมไปทำกิจกรรม และโดยพื้นฐานของเรา ส่วนใหญ่เป็นคนอีสาน จึงได้คิดที่จะมอบสิ่งดี ๆ ให้กับ คนอีสาน เสมือน DTAC เคยทำโครงการ “สำนึกรักบ้านเกิด” จากนั้น ก็ได้วางตัวสมาชิกว่า ท่านใด เหมาะสมทำหน้าที่อะไรในชมรมบ้าง ซึ่ง เราทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า คนที่เคยทำกิจกรรมโดดเด่นที่สุดในรุ่น สมัยเรียนคือ “คุณเปี๊ยก อดิศร พาภักดี” เหมาะที่จะเป็นประธานชมรม และ “คุณศุภชัย แพงน้อย” จะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ รุ่นพี่ เพื่อน และ รุ่นน้อง รวมทั้งกับหน่วยงานต่างๆ จึงรับอาสาในการเป็น เลขาธิการชมรม จากนั้นคุณศุภชัย จึงได้โทรประสานรุ่นพี่ที่เคารพ คือ ” บิ๊กหมงของน้อง ๆ คุณมงคล ศิริดล” ในการเข้ามาช่วยขับเคลื่อนชมรมตะโกรายสัมพันธ์ และ บิ๊กหมง ก็รับอาสาในการเป็น “ประธานที่ปรึกษาและผู้อำนวยการค่าย ” ให้กับ ชมรม ในการประสาน เพื่อน ๆ ทุก องค์กรเข้ามาสนับสนุนงบประมาณ และ ดูแลความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรมในทุกครั้ง จนชมรมตะโกรายสัมพันธ์ มีรูปร่างที่สมบูรณ์ มีเว็บไซต์ www.takorai.org เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มีสื่อโซเชียล มีเพลงของชมรม มีสัญลักษณ์ชมรมเป็นของตัวเองโดยการนำภาพอาคารคุรุสัมมนาคารมาเป็นสัญลักษณ์ของชมรมเพราะอาคารคุรุสัมมนาคารคือสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น อีกทั้งเป็นสถานที่ ๆ นักศึกษาเทคโนโคราชทุกคนให้ความเคารพ มีคำขวัญ“รักพี่ รักเพื่อน รักน้อง” และ เรายังยึดกฏเหล็ก 3 ข้อ เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามาปฏิบัติในการทำงานร่วมกันจนถึงปัจจุบัน และ กฏ 3 ข้อนี้ เราทุกคนจำกันได้แม่นคือ
ข้อ 1. รุ่นพี่ทำถูกเสมอ
ข้อ 2. รุ่นน้องต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรุ่นพี่
ข้อ 3. หากรุ่นพี่ทำผิดให้กลับไปดู ข้อ 1 ใหม่

เกี่ยวกับเรา

ชมรมตะโกรายสัมพันธ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2544 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยกลุ่มเพื่อนสนิทศิษย์เก่าเทคโนโคราช ( เข้าเรียนระดับ ปวส. เมื่อปี พ.ศ.2534 ) แผนกอิเล็กทรอนิกส์ รุ่น EE23 และ แผนกคอมพิวเตอร์ รุ่น EC3 หลังจากกลับจากการเดินทางไปร่วมงานอุปสมบท เพื่อนสนิท คุณเศรษฐศักดิ์ ทองชมภู ที่บ้านพุเตย ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์ ขากลับ จึงได้แวะสังสรรค์กันที่ บ้านภรรยาของ คุณวิริยะ ปรัชญาเกรียงไกร (เอ สุพรรณ) ที่ จ.สระบุรี โดยได้นั่งสังสรรค์กันใต้ต้นมะกรูด จากนั้นในวงสนทนาจึงได้เกิดความคิดขึ้นว่า “พวกเรามาร่วมมือกันทำอะไรที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ด้วยการจัดกิจกรรม 1 ปี 1 ครั้ง เพื่อให้ พี่ เพื่อน น้อง ได้ พบปะสังสรรค์กันแบบ ไม่ต้องหลบซ่อนให้ภรรยาต้องเป็นกังวลแล้วโทรตาม และ ถือโอกาสในการสร้างกุศลให้กับเด็กนักเรียนและโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญกันดีมั้ย?” จึงได้ระดมความคิดในการตั้งชมรมขึ้นมา และ คิดกันว่า ชื่อชมรม จะใช้ชื่ออะไรดี เดิมทีจะใช้ชื่อ “ชมรมตะโกรายและผองเพื่อน” จากนั้นก็ได้ช่วยกันคิดจนตกผลึกว่า ชื่อ “ชมรมตะโกรายสัมพันธ์’ เพื่อให้สื่อความหมายที่เข้าใจง่าย และ มีความหมายลึกซึ้ง ชื่อ “ตะโกราย’ เพื่อให้ทุกคนทราบโดยทั่วกันว่า เราคือศิษย์เก่าที่จบมาจากเทคโนโคราช และเติมคำว่า “สัมพันธ์ เข้าไป เพื่อสื่อสารว่า ชมรมจะสานสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนโดยไม่จำเป็นต้องเป็นศิษย์เก่าเทคโนโคราชก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมได้ เพียงขอให้มีจิตเมตตาต่อเด็กๆ ในพื้นที่ ๆ ชมรมไปทำกิจกรรม และโดยพื้นฐานของเรา ส่วนใหญ่เป็นคนอีสาน จึงได้คิดที่จะมอบสิ่งดี ๆ ให้กับ คนอีสาน เสมือน DTAC เคยทำโครงการ “สำนึกรักบ้านเกิด” จากนั้น ก็ได้วางตัวสมาชิกว่า ท่านใด เหมาะสมทำหน้าที่อะไรในชมรมบ้าง ซึ่ง เราทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า คนที่เคยทำกิจกรรมโดดเด่นที่สุดในรุ่น สมัยเรียนคือ “คุณเปี๊ยก อดิศร พาถักดี” เหมาะที่จะเป็นประธานชมรม และ “คุณศุภชัย แพงน้อย” จะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ รุ่นพี่ เพื่อน และ รุ่นน้อง รวมทั้งกับหน่วยงานต่างๆ จึงรับอาสาในการเป็น เลขาธิการชมรม จากนั้นคุณศุภชัย จึงได้โทรประสานรุ่นพี่ที่เคารพ คือ ” บิ๊กหมงของน้อง ๆ คุณมงคล ศิริดล” ในการเข้ามาช่วยขับเคลื่อนชมรมตะโกรายสัมพันธ์ และ บิ๊กหมง ก็รับอาสาในการเป็น “ประธานที่ปรึกษาและผู้อำนวยการค่าย ” ให้กับ ชมรม ในการประสาน เพื่อน ๆ ทุก องค์กรเข้ามาสนับสนุนงบประมาณ และ ดูแลความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรมในทุกครั้ง จนชมรมตะโกรายสัมพันธ์ มีรูปร่างที่สมบูรณ์ มีเว็บไซต์ www.takorai.org เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มีสื่อโซเชียล มีเพลงของชมรม มีสัญลักษณ์ชมรมเป็นของตัวเอง มีคำขวัญ“รักพี่ รักเพื่อน รักน้อง” และ มีบทกลอนจากการประพันธ์ของ”บิ๊กหมง คุณมงคล ศิริดล”

“ตะโกรายสัมพันธ์นั้นเพราะเพื่อน
ตะโกรายคอยเตือนยังรักพี่
ตะโกรายสอนน้องสร้างสิ่งดี
ตะโกรายสามัคคีและสัมพันธ์”

โดยได้แบ่งบทบาทหน้าที่ให้กับคณะทำงานของ พี่ เพื่อน น้อง อย่างลงตัว ดังนี้
1) คุณอดิศร พาภักดี ประธานชมรม
2) คุณมงคล ศิริดล ประธานที่ปรึกษาและผู้อำนวยการค่าย
3) คุณศุภชัย แพงน้อย เลขาธิการชมรม
4) คุณสิทธิศักดิ์ ชนีวงศ์ และ คุณไตรรัตน์ รัตตสนธิกุล เหรัญญิก
5) คุณสุเมธ เหมทานนท์ รองประธานฝ่ายสวัสดิการ
6) ดร.สันติ ชาตรูประชีวิน ประชาสัมพันธ์ และ กิจกรรมนันทนาการ
7) คุณพลรัฐ วิวิธวร รองประธานฝ่ายดนตรีและกีฬา

ปณิธานของชมรม

มื่อครั้งที่เราเริ่มก่อตั้งชมรมตะโกรายสัมพันธ์ ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2544 เราตั้งปณิธานร่วมกันว่าจะออกเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมด้วยการมอบความสุขให้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดเขตพื้นที่ภาคอีสานให้ครบ 20 จังหวัด โดยมุ่งเน้นว่าโรงเรียนที่เราจะไปทำกิจกรรมต้องเป็นโรงเรียนที่อยู่ในระดับประถม มีจำนวนนักเรียนอยู่ระหว่าง 80-120 คน มีความขาดแคลนในสิ่งที่เราต้องการมอบให้จริง ๆ และ ต้องได้ใช้ประโยชน์ในสิ่งที่เรามอบให้จริง  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารเอนกประสงค์ เพื่อใช้เป็นโรงอาหาร หรือ สถานที่ประชุม หรือ ปรับปรุงอาคารเรียน หรือ สนามกีฬา และ เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน  มอบอุปกรณ์การเรียน-การสอน เล่นกิจกรรมนันทนาการร่วมกับเด็กนักเรียน  เล่นกีฬาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับคณะครู และ ผู้ปกครอง และ ชาวบ้าน 

    และในที่สุดเราก็สามารถพิชิตเป้าหมายด้วยการเดินทางไปทำกิจกรรมตะโกรายสัมพันธ์ ครั้งที่ 20 ที่ โรงเรียนบ้านหนองน้ำเต้า ต.นาโสก อ.เมือ่ง จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็น จังหวัดที่ 20 ในการทำกิจกรรมโดยครบทุกจังหวัดในภาคอีสานตามที่ได้ตั้งปณิธาน 

     จากนี้ไปชมรมตะโกรายสัมพันธ์ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ความดีสู่สังคมต่อไปแต่ด้วยวัยของสมาชิกที่เริ่มสูงขึ้นจึงลดการเดินทางไกลและปรับรูปแบบการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาส เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณงามความดีที่ชมรมตะโกรายสัมพันธ์ได้สร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่องจะสามารถเป็นต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นหลังได้หันมาสร้างคุณประโยชน์ รู้จักการให้และแบ่งปันต่อสังคมต่อไป